7 วิธีวางแผนเกษียณ เริ่มบริหารวันนี้ ชีวิตหลังเกษียณสบาย

หากลองหลับตาแล้วนึกภาพวัยเกษียณ ชีวิตของคุณตอนนั้นจะเป็นอย่างไร มั่งคั่งจากเงินออมที่สะสมมาตลอดอายุการทำงาน พออยู่พอกินจากการใช้จ่ายอย่างประหยัด หรือว่ายังต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินดูแลตัวเองที่แก่ลงเรื่อย ๆ เพราะภาพชีวิตหลังเกษียณจะสะท้อนออกมาผ่านเงินเก็บที่มีอยู่ในมือ ยิ่งวางแผนดี เตรียมพร้อมรับความเสี่ยงและสำรองเงินไว้มากเท่าไหร่ โอกาสก้าวสู่การเกษียณสำราญก็ยิ่งมีมากขึ้น


สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ยังไม่เริ่มวางแผนเกษียณ ถึงเวลาแล้วที่จะหันมาใส่ใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ลองมาดูกันว่าเราจะสามารถเริ่มต้นวางแผนการเงินให้พร้อมสำหรับวัยที่ไม่มีรายได้ได้อย่างไร เพื่อให้ภาพความสุขของชีวิตหลังเกษียณแจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ

การวางแผนเกษียณ คืออะไร?

การวางแผนเกษียณคือขั้นตอนสู่การบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เรามีเงินเก็บเพียงพอสำหรับใช้จ่ายเมื่อไม่มีรายได้จากการทำงาน เงินจำนวนนี้จะต้องครอบคลุมทุกความต้องการใช้จ่ายของเราที่จะมีขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าสาธารณูปโภคที่จำเป็น ค่ารักษาพยาบาล หรือแม้แต่ค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน คนที่วางแผนเกษียณไว้แต่เนิ่น ๆ และบรรลุเป้าหมายการออมได้ไว ก็มีโอกาส Early Retire หรือเกษียณตัวเองจากการทำงานหนักได้ไวกว่าคนอื่น และอาจมีเงินเหลือมากพอให้ได้ใช้ชีวิตตามความฝันอีกด้วย

ทำไมต้องวางแผนเกษียณ?

เราไม่อาจปฏิเสธว่า ศักยภาพในการทำงานเลี้ยงชีพของคนเรานั้นมีขีดจำกัด เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการทำงานก็เริ่มถดถอย แต่รายจ่ายกลับมากขึ้นทุกวัน การพึ่งพาเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือบำเหน็จบำนาญอาจไม่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตหลังเกษียณที่ดี ยังไม่พูดถึงอัตราเงินเฟ้อที่กัดกินมูลค่าเงินให้น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป เหล่านี้คือเหตุผลที่เราทุกคนต้องเริ่มวางแผนการเงินให้เร็วที่สุด จะได้มีระยะเวลาเก็บเงินที่มากพอ ทันต่อความต้องการใช้เงินในอนาคต

7 วิธีเตรียมพร้อมสู่ชีวิตหลังเกษียณแบบสบาย ๆ

เมื่อรู้แล้วว่า การวางแผนเกษียณยิ่งเริ่มเร็วยิ่งดี งั้นลองมาดูกันว่าจะมีวิธีอะไรบ้างที่ช่วยให้การบริหารเงินเตรียมเกษียณของเราไปถึงเป้าหมายได้ไวขึ้น

  1. เริ่มตั้งเป้าหมายเก็บเงิน
    ก่อนจะเดินทางสู่เป้าหมาย ต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายของเราคืออะไร นั่นคือเราต้องการเงินไว้ใช้หลังเกษียณทั้งหมดกี่บาท โดยคำนวณจากค่าใช้จ่ายต่อปี * จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ

    ตัวอย่าง : เงินที่คาดว่าจะใช้หลังเกษียณ เดือนละ 30,000 บาท คิดเป็นปีละ 360,000 บาท คาดว่าจะมีอยู่ชีวิตอยู่อีก 20 ปี คำนวณเป็น 360,000 * 20 = 7,200,000 บาท
  2. คำนวณอัตราเงินเฟ้อ
    เพื่อให้เห็นมูลค่าเงินจริงที่ต้องเก็บไว้กว่าจะถึงวัยเกษียณ หลังจากเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี
    สูตรคำนวน: เงินเก็บหลังเกษียณ = จำนวนเงินที่คาดว่าจะใช้หลังเกษียณ *(1+อัตราเงินเฟ้อ)^จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ

    จากตัวอย่างในข้อ 1 ลองกำหนดให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อไป จะได้ 7,200,000 *(1+3%) ^20 = 13,004,000.89 บาท

    จะเห็นได้ว่าเป้าหมายการออมที่แท้จริงนั้นเพิ่มจากเป้าหมายการใช้เงินในตอนแรกเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว หรือหากเราต้องการมีเงินใช้มากกว่านั้น สามารถดูเป้าหมายการออมของเราได้จากตารางต่อไปนี้

  1. วางแผนออมเงินทีละขั้น
    เริ่มจากวิธีการง่าย ๆ อย่างจากทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้เห็นข้อมูลการใช้เงินตามจริง รายรับเท่าไหร่ รายจ่ายจำเป็นเท่าไหร่ หรือรายจ่ายไหนที่ฟุ่มเฟือย เคล็ดลับสำคัญของการเก็บออมในการวางแผนเกษียณคือวินัยทางการเงิน ต้องเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ ทีละเล็กละน้อย ฝึกจนเป็นนิสัยจะสามารถออมเงินก้อนใหญ่ได้ไม่ยาก จากนั้นก็ศึกษาเครื่องมือการเงินมาเป็นตัวช่วยเก็บออม เช่น เงินฝากประจำ ประกันสะสมทรัพย์ หรือกองทุนรวม ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  2. ไม่ก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น
    ผ่อน 0% นาน 10 เดือน โปรโมชันเด็ดที่ทำให้หลายคนพลาดเป้าเก็บเงินมานักต่อนัก เพราะคิดว่าเงินผ่อนจำนวนน้อย ๆ ไม่น่าจะเป็นอะไร ควรระลึกเสมอว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นอันตรายอย่างยิ่งต่อการวางแผนเกษียณ หากเป็นหนี้ก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ แม้จะมีความจำเป็นก็ต้องรีบเคลียร์ให้หมดก่อนเกษียณ เพราะในวันที่เราไม่มีรายได้ การจ่ายหนี้ก็จะเป็นเรื่องยากขึ้น
  3. วางแผนภาษีล่วงหน้า
    สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีทุกปี การวางแผนลดหย่อนภาษีจะทำให้เราได้เงินคืนภาษี พร้อมมีเงินออมระยะยาวควบคู่ไปด้วย ซึ่งการวางแผนภาษีทำได้หลายรูปแบบ ทั้งการซื้อประกัน กองทุน SSF และกองทุน RMF แต่อย่างไรก็ดี อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขของกองทุนลดหย่อนภาษี และรู้ความเสี่ยงที่รับได้ก่อนตัดสินใจลงทุน
  4. ทบทวนเป้าหมาย ปรับแผนให้ตอบโจทย์รูปแบบชีวิต
    การวางแผนเกษียณจัดเป็นการวางแผนการเงินระยะยาว มักเป็นการวางแผนแบบมากกว่า 10 ปีขึ้นไป การหมั่นทบทวนแผนการออมจึงควรทำเป็นระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การมีครอบครัว การเปลี่ยนงาน หรือภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มากขึ้น
  5. วางแผนรับมือกับความเสี่ยง
    แม้ว่าแผนการเก็บเงินจะดีแค่ไหน แต่ก็พร้อมพังได้หากไม่ป้องกันความเสี่ยงให้ดี หรือหากเกิดเหตุไม่คาดฝันก่อนแผนเกษียณจะสำเร็จ คนข้างหลังก็อาจลำบากเพราะขาดคนดูแล การทำประกันจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด โดยเฉพาะประกันออมทรัพย์ เพราะให้ความคุ้มครองชีวิต และช่วยให้เงินออมในประกันงอกเงยขึ้นด้วย

    ตัวอย่างประกันออมทรัพย์ที่น่าสนใจ
    • ประกันสะสมทรัพย์ PRUInfinity 888 Plus วางแผนสู่ความมั่นคงในอนาคต จ่ายเบี้ยสั้น 8 ปี ความคุ้มครอง 8 เท่า รับเงินคืนทุกปี 8% และรับเงินก้อน 888% เมื่อครบสัญญา สนใจ คลิก
    • ประกันสะสมทรัพย์ พรูคลิก เซฟวิ่ง ออมสั้น 8 ปี ได้เงินคืนทุกปี รวม 208% ของจำนวนเงินเอาประกัน คุ้มครองชีวิตสูงสุด 150% สนใจ คลิก

ข้อดีของการวางแผนเกษียณ

  • รู้เป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อประเมินความสามารถในการออม
  • มีโอกาสปรับเปลี่ยนแผนการออมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ปิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • ก้าวสู่อิสรภาพทางการเงินได้ไวกว่าคนที่ไม่ได้เตรียมพร้อม
  • นำไปสู่ชีวิตหลังเกษียณที่มั่งคั่ง และมีความสุข

ไม่ว่าใครก็สามารถออกแบบชีวิตหลังเกษียณของตัวเองได้ หากเริ่มต้นวางแผนเกษียณเอาไว้ล่วงหน้า และมุ่งมั่นทำตามแผนอย่างเคร่งครัด ยิ่งทุกวันนี้เรามีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมาช่วยต่อยอดเงินออมและรับมือกับความเสี่ยง การวางแผนเกษียณก็ยิ่งง่ายขึ้น

ประกันแนะนำ

PRUInfinity 888 Plus

รับเงินคืนก้อนใหญ่ 888% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยเริ่มต้นเมื่ออายุครบ 88 ปี ชำระเบี้ยฯ สั้น เพียง 8 ปี

PRUClick Saving

รับเงินคืนไวตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2 รับเงินก้อน 150% ลดหย่อนภาษีได้

หรือ

สำหรับลูกค้าทั่วไปที่ต้องการจัดการกรมธรรม์

สวัสดี คุณ

สวัสดี