ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษี ทางเลือกเซฟภาษี ของมนุษย์เงินเดือน

สิ่งที่หนีไม่พ้นของคนทำงาน นอกจากเดดไลน์ส่งงานก็คือการเสียภาษี ที่ไม่ทันได้ใช้เงินเดือน ก็ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนแล้ว บางคนเมื่อเปิดดูสลิปเงินเดือนก็รู้สึกใจหาย อยากได้เงินภาษีคืนมาเพื่อนำไปใช้จ่ายที่จำเป็น การวางแผนภาษีด้วยเครื่องมือทางการเงินรูปแบบต่างๆ จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือน เพราะภาษีเลี่ยง ไม่ได้ แต่ลดหย่อนได้ แถมในบางครั้งยังช่วยให้เรามีเงินออมก้อนใหญ่ได้ด้วย

สิ่งที่หนีไม่พ้นของคนทำงาน นอกจากเดดไลน์ส่งงานก็คือการเสียภาษี ที่ไม่ทันได้ใช้เงินเดือน ก็ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนแล้ว บางคนเมื่อเปิดดูสลิปเงินเดือนก็รู้สึกใจหาย อยากได้เงินภาษีคืนมาเพื่อนำไปใช้จ่ายที่จำเป็น การวางแผนภาษีด้วยเครื่องมือทางการเงินรูปแบบต่างๆ จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือน เพราะภาษีเลี่ยง ไม่ได้ แต่ลดหย่อนได้ แถมในบางครั้งยังช่วยให้เรามีเงินออมก้อนใหญ่ได้ด้วย

ชวนลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต


แม้ว่าการเสียภาษีเงินได้จะเป็นหน้าที่ของพลเมืองอย่างเราๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่ได้อะไรจากการจ่ายภาษี เพราะนอกจากเม็ดเงินเหล่านั้นจะได้นำไปพัฒนาประเทศแล้ว ยังมีส่วนที่ได้รับการลดหย่อนตามเงื่อนไข เช่น กลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนตัว เงินบริจาค หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ และมีส่วนที่เราสามารถจัดสรรเองได้จาก การวางแผนการเงิน เช่น การซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี และการทำประกันชีวิต โดยเฉพาะ การทำประกันชีวิตที่เป็นเหมือนตัวช่วยเซฟภาษีแบบสุดคุ้ม เพราะได้ทั้งลด หย่อนภาษี ได้ความคุ้มครอง และบางรูปแบบก็ได้เงินออมเพิ่ม

ก่อนจะตัดสินใจซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี มาดูกันก่อนว่าประกันชีวิตชีวิตมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง?

  • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
    เน้นคุ้มครองชีวิตในระยะยาว จนถึงอายุ 99 ปี แต่จ่ายเบี้ยเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากเสียชีวิตในช่วงที่ กรมธรรม์มีผลบังคับ ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือหากอยู่จนครบอายุ ก็จะได้รับเงินคืนตามทุนประกันที่ทำไว้
  • ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)
    คือการทำประกันเอาไว้คุ้มครองชีวิตในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากประกันแบบตลอดชีพตรงที่เมื่อมีชีวิต อยู่จนครบอายุสัญญาจะไม่ได้รับเงินคืน เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองในช่วงที่มีภาระหนี้สินและไม่ต้องการให้คนรุ่นหลังรับ ภาระหากเกิดเหตุไม่ คาดฝัน
  • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
    เป็นประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินควบคู่กับการคุ้มครองชีวิต โดยเมื่อครบกำหนดสัญญาจะได้รับผลตอบ แทน ตามที่ระบุในสัญญา ซึ่งมากกว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity)
    คือประกันชีวิตที่รองรับการออมเพื่อการเกษียณ โดยจ่ายเบี้ยประกันถึงอายุ 55 หรือ 60 ปี จากนั้นจะได้รับเงิน บำนาญ คืนจนครบกำหนดสัญญา แต่หากเสียชีวิตก็จะได้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุในกรมธรรม์
  • ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked)
    คือประกันชีวิตที่มีการแบ่งเบี้ยประกันส่วนหนึ่งมาเพื่อนำไปลงทุน โดยผู้ซื้อสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ หลากหลายได้ ทำให้นอกจากความคุ้มครองแล้ว ก็ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบทั่วไป


การทำประกันช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างไร?

อย่างที่บอกว่าประกันชีวิตมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งเงื่อนไขออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. กลุ่มประกันชีวิตทั่วไป ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา และประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ กลุ่มนี้เป็นประกันที่เน้น คุ้มครองชีวิตและการออมเงิน สามารถใช้สิทธิ์เพื่อลดหย่อนภาษีตามจริงได้สูงสุด 100,000 บาท รวมกับคู่สมรสที่ไม่มีรายได้อีกไม่เกิน 10,000 บาท

เงื่อนไข: ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หากเป็นประกันที่จ่ายเงินคืนทุกปี จำนวนเงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี หรือหากจ่ายเงิน คืนตามช่วงเวลาต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วง กรณียกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อน ภาษีของกรมธรรม์ฉบับนั้นได้ และต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังทั้งหมดที่ได้รับการลดหย่อนไป บวกกับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย ทั้งนี้ ประกันชีวิตที่ซื้อจะต้องอยู่ภายใต้การรับประกันของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น

2. ประกันชีวิตควบการลงทุน สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 100,000 บาท โดยจะคำนวณเฉพาะส่วนที่เป็นเบี้ยประกันชีวิตและค่าใช้จ่ายของ การประกัน รวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปอื่น ๆ จะไม่ทำส่วนที่เป็นการลงทุนมาลดหย่อนภาษี

เงื่อนไข: ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป หากเป็นประกันที่จ่ายเงินคืนทุกปี จำนวนเงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี หรือหากจ่ายเงิน คืนตามช่วงเวลาต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วง กรณียกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อน ภาษีของกรมธรรม์ฉบับนั้นได้ และต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังทั้งหมดที่ได้รับการลดหย่อนไป บวกกับดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย ทั้งนี้ ประกันชีวิตที่ซื้อจะต้องอยู่ภายใต้การรับประกันของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น

3. ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณ อายุอื่นๆ* ต้องไม่เกิน 500,000 บาท หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเกินกว่า 200,000 บาทสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปใช้สิทธิ์ใน ส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปได้จนครบ 100,000 บาท

เงื่อนไข: ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และต้องจ่ายเบี้ยให้ครบก่อนได้รับบำนาญ โดยมีช่วงอายุการเริ่มจ่ายผลประโยชน์ตั้งแต่ 55 - 85 ปีขึ้นไป และจ่ายออกอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ประกันชีวิตที่ซื้อจะต้องอยู่ภายใต้การรับประกันของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น

*สิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่า ด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ


“ประกันออมทรัพย์” ตัวช่วยเซฟภาษีสุดคุ้ม?

ในบรรดาประกันชีวิตหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์มีความน่าสนใจ และได้รับความนิยมอย่างมากจาก คนวัยทำงาน เพราะการเลือกใช้ประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี เป็นวิธีการที่เซฟภาษีได้อย่างคุ้มค่า ได้ประโยชน์หลายต่อ และเหมาะกับคนทำงานทุกช่วงวัย

ชี้เป้าประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีตัวแรงแห่งปี

ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษี D-Super Saving 10/1
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

  • ออมเพียงครั้งเดียว รับผลตอบแทนต่อเนื่อง 10 ปี
  • การันตีเงินคืน 118% ของจำนวนเงินเอาประกัน
  • มีเงินครบกำหนดสัญญา 100% ของทุนประกัน
  • พร้อมความคุ้มครองชีวิตถึง 10 ปี

ประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี พรูคลิก เซฟวิ่ง 20/8
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

  • ระยะเวลาออมสั้นๆ แค่ 8 ปี
  • ได้รับเงินคืนทุกปี
  • รับเงินก้อน 150% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • รวมรับเงินคืน 208% ตลอดอายุสัญญา
  • พร้อมความคุ้มครองชีวิตสูงสุด 150%

ข้อควรรู้ก่อนซื้อประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษี

สำหรับใครที่คิดจะซื้อประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี เรามีข้อควรรู้มาแนะนำดังนี้

1. ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป หากระยะเวลาคุ้มครองสั้นกว่านี้จะไม่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี และควรศึกษาเงื่อนไขทางภาษีอย่างละเอียดก่อน ตัดสินใจทำประกัน

2. พิจารณาทุนประกัน และความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันโดยปกติหากทุนประกันสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความสามารถ ในการจ่ายเบี้ยของตัวเองด้วย เช่น หากทำอาชีพอิสระ หรือมีรายได้ไม่แน่นอน แนะนำให้เลือกแบบประกันที่จ่ายเบี้ยเพียงสั้นๆ และไม่ลืมพิจารณาค่าเบี้ย ไม่ให้สูงเกินจ่ายไหว

3. มีระยะเวลาคุ้มครองที่เหมาะสมเช่น หากมีภาระหรือครอบครัวที่ต้องดูแล ให้เน้นประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองยาวๆ เพื่อได้รับความอุ่นใจจาก ความคุ้มครองที่ยาวนานขึ้น

4. เปรียบเทียบความคุ้มค่า ทั้งผลตอบแทนเมื่อครบสัญญา เงินคืนระหว่างปีที่ควรเป็นเท่าไหร่ หรือไม่ต้องการเงินส่วนนี้แต่เน้นรับผลตอบแทนเมื่อครบ สัญญา และความคุ้มครองชีวิตที่เพียงพอต่อความต้องการ

จุดเด่นและข้อสังเกตของประกันออมทรัพย์

แน่นอนว่าเมื่อเราซื้อประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้องตามเงื่อนไข เราก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่นอกเหนือจากนี้ประกันออมทรัพย์ยังมีจุดเด่น อีกหลายอย่างที่ช่วยในการวางแผนการเงินของเราได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1. ความเสี่ยงต่ำกว่าผลิตภัณฑ์การเงินบางรูปแบบมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง หรือมีโอกาสขาดทุน แต่การออมเงินผ่านประกันชีวิตนั้นจะได้รับผลตอบ แทนที่แน่นอน มีการระบุเงินคืนระหว่างสัญญา ผลตอบแทนเมื่อสิ้นสุดสัญญา ผลประโยชน์จากความคุ้มครองให้เราพิจารณาก่อนตัดสินใจ

2. ได้ความคุ้มครองชีวิตไม่เพียงแค่ประโยชน์เรื่องการออมเงิน แต่เรายังได้รับความคุ้มครองชีวิตจากการทำประกันออมทรัพย์ ซึ่งอุ่นใจได้ว่าคนข้าง หลัง จะได้รับผลประโยชน์ที่แน่นอนและคุ้มค่ากับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป

3. แบบประกันมีความยืดหยุ่นสูงแม้ว่าแผนประกันออมทรัพย์ส่วนมากจะมีระยะเวลาชำระเบี้ยใกล้เคียงกัน แต่ค่าเบี้ยประกันต่อปีจะมีความยืดหยุ่นสูง มาก เราสามารถเลือกแบบที่จ่ายเบี้ยไหว หรือความคุ้มครองที่เหมาะสมกับค่าเบี้ยประกันของเราได้

4. ต่อยอดสู่ความคุ้มครองเพิ่มเติมสามารถใช้ประกันออมทรัพย์เพื่อเป็นสัญญาหลักสำหรับซื้อประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติมได้

อย่างไรก็ดี ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น เราจะไม่สามารถเบิกถอนเงินจากกรมธรรม์ได้เหมือนกับการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ หากมี ความจำเป็นจะต้องทำเรื่องเวนคืนกรมธรรม์ซึ่งจะมีเงื่อนไขการรับเงินคืนอื่นๆ ตามมาด้วย ที่สำคัญหากเราซื้อประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี ยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขทางภาษีก่อนตัดสินใจซื้อหรือเวนคืนกรมธรรม์ หากทำผิดเงื่อนไขก็อาจไม่ได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี หรือโดนภาษีย้อนหลัง

เทคนิคการเลือกประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษี

1. รู้ว่าเราต้องเสียภาษีเป็นเงินเท่าไหร่เริ่มจากรู้เงินได้สุทธิเพื่อนำคำนวณอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันไดด้วยสูตรเงินได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
จากนั้นจึงคำนวณอัตราภาษีที่ต้องจ่าย ด้วยสูตรภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
หากมีรายได้หลายทางนอกเหนือจากเงินเดือน เกิน 1,000,000 บาทขึ้นไป ให้ลองคำนวณภาษีแบบคิดเหมาเพื่อเปรียบเทียบอัตราภาษีที่ต้องจ่าย ด้วยสูตร
ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท - เงินเดือน) x 0.005 แล้วลองนำตัวเลขที่คำนวณได้ทั้งแบบขั้นบันไดและแบบเหมามาเปรียบเทียบ หากวิธีไหนต้องเสียภาษีสูงกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามยอดนั้น

2. ตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษีทั้งหมดสิทธิ์ลดหย่อนภาษีในแต่ละปีมีหลากหลาย อาทิ ค่าลดหย่อนพื้นฐาน เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บิดามารดา เงินบริจาค มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินออมและเงินลงทุน ให้สำรวจให้ครบทุกรายการ ก่อนนำไปวางแผนลดหย่อนภาษี

3. เลือกแบบประกันที่ตอบโจทย์หากตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกซื้อประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี ก็ควรเปรียบเทียบแบบประกันในท้องตลาดที่ตอบ โจทย์ ตรงความต้องการด้วย จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี และเพิ่มผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองที่ตรงใจ

การวางแผนภาษีและบริหารเงินออมคือสิ่งที่วัยทำงานทุกคนต้องมีความรู้ และนำไปใช้อย่างจริงจัง เพราะจะทำให้บรรลุเป้าหมายการออม หรือนำไปสู่อิสรภาพทาง การเงินได้ไม่ยาก การเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ตอบโจทย์จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งในที่นี้ประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี ก็คือหนึ่งในเครื่องมือวางแผนภาษีและสร้างความมั่นคงที่เราอยากแนะนำให้กับทุกคน

หรือ

สำหรับลูกค้าทั่วไปที่ต้องการจัดการกรมธรรม์

สวัสดี คุณ

สวัสดี