ประกันสุขภาพ OPD กับ IPD คืออะไร ต่างกันอย่างไร เลือกทำแบบไหนดี?

ไม่มีใครไม่เคยเจ็บป่วย จะมากหรือน้อยคนเราย่อมต้องเคยไม่สบายกันทั้งนั้น ไหนจะอุบัติเหตุที่อาจเกิดได้ทุกเมื่อทั้งจากตัวเราเอง และคนรอบข้าง นี่จึงเป็นเหตุผลให้การทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นของทุกคน


การทำประกันสุขภาพที่เหมาะสมคือต้องครอบคลุมการเจ็บป่วยในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็ก ๆ เจ็บป่วยน้อย ๆ ไปจนถึงการผ่าตัด การรักษาโรคร้ายแรง ซึ่งทุกครั้งเมื่อเราต้องพิจารณาเลือกแบบประกันสุขภาพ เรามักจะพบกับคำศัพท์ 2 คำเป็นประจำ นั่นคือ OPD และ IPD ทั้งสองคำนี้คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเลือกซื้อประกันสุขภาพ มาดูกัน


OPD คืออะไร?

OPD คือคำเรียกกลุ่มผู้ป่วยนอก ย่อมาจาก Out Patient Department โดย OPD คือศัพท์ทางการแพทย์ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบไม่ต้องนอนพัก จะเข้ามาเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยรักษา ฉีดยา ทำกายภาพ และรับยากลับไปดูแลตัวเองที่บ้าน ส่วนมากผู้ป่วย OPD คือผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพไม่รุนแรง เช่น ไข้หวัดธรรมดา ปวดท้องจากอาหารเป็นพิษ หรือโรคกระเพาะ ผดผื่น และอุบัติเหตุเล็กน้อย เป็นต้น


IPD คืออะไร?

IPD คือคำเรียกกลุ่มผู้ป่วยใน ย่อมาจาก In Patient Department คำว่า IPD คือศัพท์ทางการแพทย์ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไปตามคำวินิจฉัยของแพทย์ให้ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่อนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้ป่วย IPD คือผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิด หรืออาจต้องมีการเตรียมพร้อมรักษาด้วยการนอนที่โรงพยาบาลก่อน เช่น การผ่าตัด หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรง อุบัติเหตุหนัก หรือโรคร้ายแรง เป็นต้น


เทียบชัด ๆ ประกันสุขภาพ OPD และ IPD ต่างกันอย่างไร?

ถ้าเราสังเกตแบบประกันสุขภาพให้ดีก่อนซื้อจะพบว่าแต่ละแบบประกันจะระบุถึงความคุ้มครอง OPD และ IPD เอาไว้ ทำให้ก่อนตัดสินใจเลือกทำประกันสุขภาพต้องเปรียบเทียบข้อมูลให้ดีก่อนทุกครั้ง ต่อไปนี้คือข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างประกันแบบ OPD และ IPD

  • ระยะเวลาการพักรักษาตัว คือความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างประกัน OPD และ IPD โดยระยะเวลารักษาตัวของ OPD คือ ไม่เกิน 6 ชั่วโมง หลัก ๆ คือการพบแพทย์และรับยากลับบ้าน ส่วนระยะเวลารักษาตัวของ IPD คือมากกว่า 6 ชั่วโมง อาจเป็นการเตรียมตัวเพื่อผ่าตัด หรือรักษาโรคที่อาการรุนแรง


  • ตัวอย่างความคุ้มครอง เนื่องจาก OPD และ IPD มีการรักษาที่แตกต่างกัน ทำให้ความคุ้มครองในประกันสุขภาพต่างกันด้วย โดยความคุ้มครองของประกันสุขภาพแบบ OPD คือ ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ได้แก่ ค่าแพทย์ ค่ายา ทั้งยาฉีด ยาทา ค่าทำแผล และค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่เกิดจากการรักษาภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมงแรกของการพบแพทย์ ส่วนความคุ้มครองของประกันสุขภาพแบบ IPD คือ ค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้ป่วยต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเกิน 6 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น ค่าแพทย์เข้าเยี่ยม ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าพยาบาล ค่าผ่าตัด ฉายแสง โดยประกันสุขภาพแบบ IPD มักกำหนดวงเงินในการรักษา ผู้เอาประกันสามารถรักษาได้ตามวงเงินที่เลือกทำประกันไว้


  • แบบประกันนี้เหมาะกับใคร ประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยในหรือ IPD เหมาะสำหรับทุกคน เพราะเป็นหลักประกันด้านสุขภาพ ช่วยให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีเมื่อเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เหมาะกับประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอกหรือ OPD คือคนที่ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลติดตัว อย่างประกันสังคม หรือประกันสุขภาพแบบกลุ่มที่ได้รับจากบริษัทที่ทำงาน หรือคนที่มีประกันคุ้มครอง แต่วงเงินค่ารักษาต่อครั้งไม่เพียงพอ

ทำไมประกันสุขภาพต้องครอบคลุมทั้ง OPD และ IPD

คนส่วนมากมักทำประกันโดยเน้นความคุ้มครองผู้ป่วยใน หรือ IPD และมองข้ามความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก หรือ OPD ไป เพราะคิดว่าเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือมีสวัสดิการเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ในการรักษาพยาบาลจริงหากประกัน OPD ไม่ครอบคลุมก็อาจกระทบกับเงินในกระเป๋าได้เช่นกัน หากใครยังไม่ตัดสินใจเพิ่มเติมความคุ้มครองแบบ OPD นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องมีทั้งประกัน OPD และ IPD


  • ขยายความคุ้มครอง  รับการรักษาได้แบบไม่มีข้อจำกัด เพราะประกัน OPD จะไม่จำกัดโรงพยาบาลที่เข้ารักษาเหมือนกับประกันสังคม ที่รักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลที่เลือกไว้เท่านั้น เมื่อเรามีทั้งประกัน OPD และ IPD ก็สามารถรับการรักษาได้มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย ก็เลือกโรงพยาบาลที่สะดวกได้หลายโรงพยาบาล


  • เสริมความคุ้มครองจากสวัสดิการเดิม  เป็นที่รู้กันว่าประกันสุขภาพแบบกลุ่มแม้จะเข้ารักษาได้หลายโรงพยาบาล แต่ก็มีวงเงินค่อนข้างจำกัด ยิ่งตอนนี้ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นทุกวัน การทำประกันแบบ OPD ร่วมกับ IPD จะช่วยแบ่งเบาค่ารักษาได้อีกทาง


  • ไม่ต้องสำรองจ่ายในทุกกรณี  ไม่ว่าจะเจ็บป่วยแบบนอนโรงพยาบาล หรือรับยากลับบ้าน ก็อุ่นใจ เพราะมีประกันสุขภาพครอบคลุม ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษา โดยเฉพาะการรักษาแบบ OPD ที่อาจต้องสำรองจ่ายแล้วนำไปเบิกกับต้นสังกัดที่ทำงาน หากเราซื้อความคุ้มครองส่วนนี้เพิ่มเติมก็หมดปัญหา


  • ครอบคลุมทุกอาการเจ็บป่วย  ทั้งการเจ็บป่วยจากโรคภัย และการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ ซึ่งในบางครั้งประกันสุขภาพแบบ IPD ก็ไม่ครอบคลุมในส่วนนี้ การมีประกัน OPD คือการคุ้มครองครอบคลุมไปถึงอาการเล็กน้อยอย่าง เป็นไข้ ปวดศีรษะ ผื่นคัน หกล้มบาดเจ็บ เป็นต้น


  • รองรับวัยเกษียณที่ไม่มีประกันกลุ่ม  คนส่วนมากที่มีสวัสดิการประกันกลุ่มจากที่ทำงานอาจลืมไปว่า สวัสดิการส่วนนี้จะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ เมื่อถึงเวลานั้นยิ่งต้องไปโรงพยาบาลบ่อยขึ้น แต่กลับไม่มีประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกไว้รองรับ ก็ทำให้การเตรียมเงินหลังเกษียณเป็นเรื่องยากขึ้น


วิธีเลือกซื้อประกัน OPD และ IPD ให้คุ้มค่าที่สุด

ประกันสุขภาพทุกวันนี้ให้การคุ้มครองที่หลากหลายและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ก่อนซื้อจึงควรพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ดังนี้


  • สวัสดิการที่มีอยู่  เช่น ประกันสังคม หรือประกันกลุ่มของบริษัท ลองดูว่าประกันที่มีให้ความคุ้มครองอย่างไร เพียงพอหรือไม่ หรือช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้ดีแค่ไหนหากเกิดการเจ็บป่วย


  • ความสามารถในการจ่ายเบี้ย  สิ่งที่ห้ามลืมเมื่อซื้อประกันสุขภาพทั้งแบบ OPD และ IPD คือความต่อเนื่องในการจ่ายเบี้ย เพราะถ้าจ่ายเบี้ยไม่ไหว หยุดจ่ายไปกลางคัน ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายมาก่อนหน้านี้ก็จะสูญเปล่า ทางที่ดีค่าเบี้ยประกันควรอยู่ที่ 10%-20% ของรายได้ต่อปี


  • การวางแผนความคุ้มครอง  เลือกทำประกันสุขภาพให้มีความคุ้มครองที่ครบถ้วน ทั้ง IPD OPD หรืออาจมอบวงเงินชดเชยเมื่อเจ็บป่วย หรือเป็นประกันโรคร้ายแรงแบบเจอ จ่าย จบ เอาไว้เป็นเงินก้อนในการดูแลตัวเองหากตรวจพบโรค เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วย หรือหากมีความสามารถในการจ่ายเบี้ยมากพอ ก็ควรเลือกวงเงินคุ้มครองให้เพียงพอสำหรับการรักษาพยาบาลในอนาคตที่ราคาอาจปรับสูงขึ้นด้วย


  • โรงพยาบาลในเครือ  ประกันสุขภาพบางเจ้ามีเงื่อนไขในการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในเครือ จึงต้องเช็คเงื่อนไขนี้ก่อนทำประกันทุกครั้ง โดยมากโรงพยาบาลในเครือจะมีกระจายอยู่ทั่วไป จึงไม่ต้องกังวลเรื่องโรงพยาบาล แต่ให้พิจารณาประกอบกันด้วยว่าโรงพยาบาลที่เราสะดวกใช้บริการมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ เพื่อเลือกวงเงินคุ้มครองให้พอดี


  • บริการของบริษัทประกัน  โดยเฉพาะประกันสุขภาพควรเลือกบริษัทประกันที่พร้อมดูแล ติดต่อสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีระบบเคลมประกันที่ไม่ยุ่งยาก สามารถยื่นเคลมได้ผ่านระบบออนไลน์

แนะนำประกันสุขภาพแบบไหนดี คุ้มครองครบ


ประกันสุขภาพ PRUEasy Care Extra

  • คุ้มครองครบ แม้ไม่นอนโรงพยาบาล ตรวจพบมะเร็ง รับเงินก้อน คลิก
  • คุ้มครองครอบคลุม เจ็บป่วย ผ่าตัด อุบัติเหตุ
  • เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล คุ้มครองสูงสุด 5 แสนบาท
  • ผ่าตัดเล็กไม่นอนโรงพยาบาล ก็คุ้มครอง
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ กรณีผู้ป่วยนอก ภายใน 24 ชั่วโมง
  • คุ้มครองโรคมะเร็ง เจอ จ่าย จบ สูงสุด 1 ล้านบาท


ประกันสุขภาพ PRUe-EASY Health Extra

  • คนทำงานจ่ายเบี้ยสบาย ได้ความคุ้มครองแบบสุดคุ้ม คลิก
  • รับความคุ้มครองกรณีตรวจวินิจฉัยและติดตามอาการ โดยไม่นอนโรงพยาบาล
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ กรณีผู้ป่วยนอก ภายใน 24 ชั่วโมง
  • คุ้มครองแบบเหมาจ่าย กรณีผู้ป่วยใน สูงสุด 5 แสนบาท
  • คุ้มครองโรคมะเร็ง เจอ จ่าย จบ สูงสุด 1 ล้านบาท
  • จ่ายเบี้ยประกันถูกกว่า ด้วยการเลือกร่วมรับผิดชอบค่ารักษาส่วนแรก
  • ตอบโจทย์คนทำงานที่ได้รับสวัสดิการร่วมจากบริษัท
  • ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าประกันสุขภาพแบบเดียวกัน 35% - 51%


ประกันสุขภาพ PRUHealthy Plus

  • เพิ่มเงินชดเชยระหว่างเจ็บป่วย ถึงเคลมก็ได้เงินคืน คลิก
  • ใช้ความคุ้มครองสุขภาพแบบค่าชดเชย
  • รับเงินคืนสูงสุด 1 ล้านบาท ถึงเคลม ก็ได้เงินคืน
  • ความคุ้มครองยาวนานถึงอายุ 80 ปี แต่จ่ายเบี้ยถึงอายุ 60 ปี
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต และความคุ้มครองสุขภาพ (เงินชดเชย) สูงสุด 1 ล้านบาท
  • เคลมง่ายผ่านระบบออนไลน์


ประกันสุขภาพ Cancer Protect

  • ตรวจพบมะเร็ง เจอ จ่าย จบ มีเงินก้อนไว้ดูแลตัวเอง คลิก
  • เจอ จ่าย ทุกระยะ
  • จ่ายเบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 5 บาท


เป็นอย่างไรบ้างเมื่อรู้แล้วว่า OPD และ IPD คืออะไร และต่างกันอย่างไร จะดีแค่ไหนถ้าทุกครั้งที่เราเจ็บป่วย ก็มีความคุ้มครองมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเสมอ ทั้งอุบัติเหตุ เจ็บป่วยเล็กน้อยแบบผู้ป่วยนอก นอนโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน เงินก้อนใหญ่เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง หรือแม้แต่เงินชดเชยรายได้เมื่อต้องนอนโรงพยาบาล ทั้งหมดนี้เราเลือกความคุ้มครองให้ตัวเองได้ เพิ่มความมั่นใจ ไม่เสียหลักหากต้องเจ็บป่วยฉุกเฉิน


หรือ

สำหรับลูกค้าทั่วไปที่ต้องการจัดการกรมธรรม์

สวัสดี คุณ

สวัสดี