แผลถลอกรถล้ม ปฐมพยาบาลอย่างไร ให้ถูกวิธี?

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะบนท้องถนน ไม่ว่าเราจะระมัดระวังแค่ไหน แต่หากเพื่อนร่วมทางประมาท ขาดความใส่ใจกฎจราจร เรื่องไม่คาดฝันก็อาจเกิดขึ้นได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์โอกาสเกิดบาดแผลฉกรรจ์จากอุบัติเหตุก็มีมากพอ ๆ กับจำนวนผู้ขับขี่บนท้องถนน

ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนมากย่อมต้องเคยประสบอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เล็กน้อย แค่มีบาดแผลถลอกรถล้ม ไปจนถึงเหตุการณ์ใหญ่ที่ได้แผล เลือดออก กระดูกแตกหัก หรือต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล คนที่เคยประสบเหตุจะรู้ว่า การปฐมพยาบาลนั้นสำคัญมากขนาดไหน

การปฐมพยาบาลคืออะไร?

การปฐมพยาบาลหมายถึงการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บ หรือผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อุปกรณ์ช่วยชีวิตมีอย่างจำกัด ต้องใช้ความรู้และการตัด สินใจที่ฉับไวในการช่วยเหลือเพื่อประคับประคองผู้ป่วยให้ถึงแพทย์และได้รักษาต่ออย่างทันท่วงที การปฐมพยาบาลอาจดูเหมือนง่าย แต่ในเหตุร้ายแรงการปฐมพยาบาล ที่ผิดวิธีก็อาจทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงยิ่งขึ้น อาจทำให้พิการ หรือเสียชีวิตได้เลย

สำหรับคนทั่วไป การปฐมพยาบาลมักเป็นการดูแลตัวเองเมื่อบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ในกรณีที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์แล้วเกิดอุบัติเหตุ อาจมีแผลรถล้ม ถลอก ฟกช้ำ เรามักเลือกทำแผลด้วยตัวเองแทนที่จะไปโรงพยาบาล ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ก็จำเป็นต้องทำอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือเจ็บหนักกว่าเดิม

วิธีปฐมพยาบาล 3 บาดแผลรถล้มที่พบบ่อย

ในผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ แผลรถล้มโดยมากหากไม่ใช่อุบัติเหตุหนักก็มักเป็นแผลฟกช้ำ แผลถลอกรถล้ม และแผลเลือดไหล ซึ่งทั้ง 3 บาดแผลนี้มีวิธีปฐมพยาบาลต่างกัน ดังนี้

  1. แผลฟกช้ำ หรือแผลรถล้มที่เกิดขึ้นเมื่อถูกกระแทกด้วยของแข็ง หรือการกดทับจากของที่น้ำหนักมาก ทำให้เกิดเลือดออกที่ชั้นใต้ผิวหนัง และเจ็บปวดจากภายใน
    • ลักษณะบาดแผล เป็นรอยช้ำสีเขียว หรือเข้มขึ้นเป็นสีม่วงคล้ำ มีขนาดเล็ก ใหญ่ แล้วแต่ความรุนแรง หรือบริเวณที่ถูกกระแทก
    • การปฐมพยาบาล ประคบบริเวณที่ฟกช้ำด้วยน้ำเย็น อาจใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็ง หรือเจลประคบเย็นซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายยา การประคบเย็นช่วยให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังออกมาน้อยลง แต่หากเกิดแผลฟกช้ำในบริเวณที่ต้องเคลื่อนไหว เช่น ข้อเท้า หัวเข่า เมื่อประคบเย็นแล้วให้ใช้ผ้าพันแบบยืดหยุ่นพันบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อลดการเคลื่อนไหวของแผล
    • ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการบีบนวด หรือกดย้ำที่แผล เพราะทำให้อาการรุนแรงกว่าเดิม
  2. แผลถลอก เกิดจากผิวหนังเสียดสีกับพื้นผิวที่แข็งและขรุขระ หากเป็นแผลถลอกรถล้มมักเกิดจากผิวหนังกระแทกและไถกับพื้นถนน หรือถูกชิ้นส่วนรถยนต์ขูดขีด ตามร่างกาย
    • ลักษณะบาดแผล แผลถลอกรถล้มทำให้ผิวหนังกำพร้าฉีกขาด ลอกเป็นขุย และมีเลือดซึมออกมา หากบาดแผลใหญ่ หรือผิวหนังเสียหายมากอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย เนื่องจากมีสิ่งสกปรกเข้าสู่บาดแผล
    • การปฐมพยาบาล
      1. ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล
      2. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ในอุณหภูมิปกติ โดยให้น้ำไหลผ่านบาดแผล เพื่อชะล้างสิ่งสกปรก
      3. ฟอกสบู่บริเวณบาดแผลอย่างเบามือ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ติดรอบบาดแผลออก
      4. ใช้สำลีชุบยาทาแผลสดค่อย ๆ ทาบริเวณบาดแผล
      5. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผล
    • ข้อควรระวัง แผลถลอกรถล้มที่เลือดไหลไม่หยุด มีอาการปวด บวมรอบแผลมากกว่าปกติ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์
  3. แผลเปิดมีเลือดออก เกิดจากถูกของมีคมกรีด บาด หรือแทงเข้าเนื้อ แผลรถล้มประเภทนี้มักถูกซี่ล้อบาดตามร่างกาย เศษหิน เศษแก้วหรือกระจกจากตัวรถบาดผิว
    • ลักษณะบาดแผล เป็นแผลเปิดที่มีเลือดไหลออกมาอย่างเห็นได้ชัด ความรุนแรงของแผลจะขึ้นอยู่กับความลึกจากชั้นผิวหนังลงไป บางกรณีแผลลึกถึงเส้นเลือดใหญ่ หรือเส้นเอ็น
    • การปฐมพยาบาล
      1. ใช้สำลีหรือผ้าสะอาดซับเลือดออกจากแผล แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
      2. เช็ดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล หรือแอลกอฮอล์
      3. สำลีชุบยาทาแผลสดค่อย ๆ ทาบริเวณบาดแผล
      4. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผล
    • ข้อควรระวัง แผลรถล้มที่มีเลือดไหลไม่หยุด หรือปากแผลกว้าง อาจต้องเย็บแผล หรืออยู่ในการดูแลของแพทย์ ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป

วิธีปฐมพยาบาล


การดูแลตัวเองระหว่างรักษาบาดแผลเมื่อรถล้ม

  1. รักษาความสะอาดของแผลอยู่เสมอ เมื่อต้องล้างแผลแต่ละครั้งควรล้างมือให้สะอาดด้วย
  2. ดูแลแผลให้แห้ง อย่าให้เปียกน้ำหรือสิ่งสกปรก
  3. สังเกตบาดแผล หากมีน้ำ เลือด หรือน้ำเหลืองซึมออกมา ให้ทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่
  4. หากมีไข้ ปวดบริเวณบาดแผล มีรอยบวมแดง ให้รีบกลับมาพบแพทย์
  5. สำหรับแผลใหญ่ที่มีการเย็บปิดปากแผล ควรพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อติดตามอาการและตัดไหมเย็บแผล

ไม่มีใครรู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไหร่ นอกจากการดูแลตัวเองหลังบาดเจ็บจากเหตุไม่คาดฝันแล้ว การเตรียมพร้อมด้วยการทำประกันอุบัติเหตุ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ หากเจ็บตัวแล้ว ต้องไม่เจ็บใจจากค่ารักษาพยาบาลที่จะตามมา แนะนำประกันอุบัติเหตุหลากหลายรูปแบบ เพื่อคุ้มครองคุณ และคนที่คุณรัก ดังนี้

  • PRUEasy Care Extra คุ้มครองครบ เจ็บป่วย ผ่าตัด อุบัติเหตุ เหมาจ่ายสูงสุด 500,000 บาท
  • PA Ready Go คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 100,000 บาท ต่ออุบัติเหตุ

หรือ

สำหรับลูกค้าทั่วไปที่ต้องการจัดการกรมธรรม์

สวัสดี คุณ

สวัสดี